วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บรรยากาศห้องเรียนมหาบัณฑิต

บรรยากาศห้องเรียน  มหาบัณฑิต  ม.กรุงเทพธนบุรี  ศูนย์พุทไธสง
ณ ห้องโสตทัศนศึกษา 2  โรงเรียนพุทไธสง


พักเหนื่อย ไม่เหนื่อนก็พักได้...

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 รับประทานผักผลไม้ให้มาก

 อาหารต้องครบหมู่

 อารมณ์แจ่มใส

 ให้อภัยผู้อื่น

 มองโลกในแง่ดี

 อุว๊ายผี.....สิงโตบุก

อุกเด๊..... ที่แท้สุกรผู้ใหญ่ลีแปลงกาย

 สะใจวัยลุ้น..
*************************************************
????????????
โตขึ้น  ผมจะเป็นนายกรัฐมนตรี

 ฮ่า  ฮ่า  ฮ่า  แกจะบ้าไปแล้ว

อ๋อ... คนบ้าเท่านั้นหรือครับ  จึงจะเป็นนายกฯ ได้ 
เพิ่งรู้นะเนี่ย

เรื่องของคน  ลิงไม่เกี่ยว ฮิ  ฮิ

ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์

หลักธรรมาภิบาล

สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ
1.      หลักคุณธรรม
2.      หลักนิติธรรม
3.      หลักความโปร่งใส
4.      หลักความมีส่วนร่วม
5.      หลักความรับผิดชอบ
6.      หลักความคุ้มค่า
แต่จะเป็นหลักการใดก็ตาม ก็จะเห็นว่าหลักการทั้งหลายล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษา “ความสมดุล”
ในมิติต่างๆไว้ เช่น หลักคุณธรรมก็คือการรักษาสมดุลระหว่างตนเองกับผู้อื่น คือไม่เบียดเบียน ผู้อื่นหรือ
ตัวเองจนเดือดร้อน ซึ่งการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตรวจสอบ ก็เพื่อมุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสมดุลดังกล่าวว่าอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ ส่วนหลักความรับผิดชอบ
ก็ต้องสมดุลกับเสรีภาพที่เป็นสิ่งที่สำคัญของทุกคน และหลักความคุ้มค่า ก็ต้องสมดุลกับหลักอื่นๆ เช่น
บางครั้งองค์การอาจมุ่งความคุ้มค่าจนละเลยเรื่องความเป็นธรรมหรือโปร่งใส หรือบางครั้งที่หน่วยงาน
โปร่งใสมากจนคู่แข่งขันล่วงรู้ความลับที่สำคัญในการประกอบกิจการ ความสมดุล หรือ ธรรม จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาล

ผู้บริหารสถานศึกษา

คุณลักษณะที่สำคัญของ “ผู้บริหารสถานศึกษา”
ในยุคปฏิรูปการศึกษา
**************************************
มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงาน
มีจิตสำนึกในความมุ่งมั่น
ใจกว้าง เปิดโอกาสให้ครูมีเสรีภาพในการคิด
เปลี่ยนแปลงจัดการเรียนรู้ให้เกิดตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา
มีศักยภาพในการจัดการระบบโรงเรียน โดยเน้นคุณธรรม
สร้างขวัญกำลังใจให้ครู มีกำลังใจที่จะเป็นครูที่ดี ครูเก่ง ครูที่ปรึกษา
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ลักษณะผู้นำที่ไม่พึงปรารถนาในสังคมไทย
หน้ายิ้ม มือไหว้
ใจอันธพาล งานไม่พัฒนา
ริษยาเป็นประจำ คิดแต่คว่ำองค์กร
เริงสำราญอยู่แต่อามิส แสวงหาความผิดผู้อื่น
ชมชื่นคำสอพลอ
..........นี่แหละหนอผู้บริหารสถานศึกษา(บางคน)

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

13 ฟอนต์มาตรฐานสำหรับระบบงานราชการไทย

ครม.มีมติให้ใช้ 13 ฟอนต์มาตรฐานสำหรับระบบงานราชการไทย เพื่อให้เอกสารต่างๆ


ของภาครัฐเป็นไปอย่างมีมาตรฐานปราศจากปัญหาลิขสิทธิ์และไม่ได้ขึ้นกับระบบปฏิบัติการระบบใดระบบหนึ่งและเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา จึงเห็นควรให้หน่วยงานราชการปฏิบัติดังนี้

1. ดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่นๆ ทั้งหมดจำนวน 13 ฟอนต์

ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย

2. ให้ติดตั้งและใช้งานให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2553 และให้รายงาน ทก.

เมื่อได้ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยมีชื่อที่สงวนไว้สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์นี้


TH Sarabun PSK
TH Sarabun PSK Italic
TH Sarabun PSK Bold
TH Sarabun PSK Bold Italic
TH Chamornman
TH Chamornman Italic
TH Chamornman Bold
TH Chamornman Bold Italic
TH Krub
TH Krub Italic
TH Krub Bold
TH Krub Bold Italic
TH Srisakdi
TH Srisakdi Italic
TH Srisakdi Bold
TH Srisakdi Italic Bold Italic
TH Niramit AS
TH Niramit AS Italic
TH Niramit AS Bold
TH Niramit AS Bold Italic
TH Charm of AU
TH Charm of AU Italic
TH Charm of AU Bold
TH Charm of AU Bold Italic
TH Kodchasal
TH Kodchasal Italic
TH Kodchasal Bold
TH Kodchasal BoldItalic
TH K2D July8
TH K2D July8 Italic
TH K2D July8 Bold
TH K2D July8 Bold Italic
TH Mali Grade 6
TH Mali Grade 6 Italic
TH Mali Grade 6 Bold
TH Mali Grade 6 Bold Italic
TH Chakra Petch
TH Chakra Petch Italic
TH Chakra Petch Bold
TH Chakra Petch Bold Italic
TH Baijam
TH Baijam Italic
TH Baijam Bold
TH Baijam Bold Italic
TH KoHo
TH KoHo Italic
TH KoHo Bold
TH KoHo Bold Italic
TH Fah Kwang
TH Fah Kwang Italic
TH Fah Kwang Bold
TH Fah Kwang Bold Italic
TH Sarabun PSK
TH Sarabun PSK Italic
TH Sarabun PSK Bold
TH Sarabun PSK Bold Italic

Download ที่ http://www.sipa.or.th/index.php

รายละเอียดที่ http://www.moe.go.th/websm/2010/sep/294.html

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

การเข้าร่วมอบรมการใช้หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
นักเรียนร่วมกันทำพานไหว้ครู

การร่วมถวายเทียนจำนำพรรษาที่วัดป่าพุทไธสง


วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้

การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้


( Unit of Learning)

หน่วยการเรียนรู้ คือหัวใจสำคัญของหลักสูตร

หน่วยการเรียนรู้เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการนำหลักสูตรสถานศึกษาเข้าสู่ชั้นเรียนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ต้องเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานเช่นเดียวกับหลักสูตร ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ครูผู้สอนสามารถพิจารณาเลือกออกแบบได้หลายวิธี แต่ควรครอบคลุมขั้นตอนการออกแบบ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับแนวคิดหนึ่งที่สามารถนำไปเป็นแนวทางการออกแบบหน่วยการเรียนรู้คือ การออกแบบย้อนกลับ

(Backward Design)ในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ควรมีการกำหนดความเข้าใจที่คงทน( Enduring Understanding) ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจที่ฝังแน่นติดอยู่ในตัวผู้เรียนอันเกิดจากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ ติดตัวผู้เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้(Unit of Learning) ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการนำหลักสูตรสถานศึกษาเข้าสู่ชั้นเรียนจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน เพราะหน่วยการเรียนรู้จะมีรายละเอียดของเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียน การวัดและประเมินผล ซึ่งจะนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างแท้จริง ปรัชญาการศึกษาในยุคที่ผ่านมานั้นมักจะเน้นการสอนเนื้อหาสาระ ดังนั้นรูปแบบหลักสูตรการเรียนการสอนในยุคก่อนจึงมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงเนื้อหา(Content- based curriculum) การประเมินผลในหลักสูตรรูปแบบนี้ก็เน้นที่การจดจำเนื้อหาให้ได้มากที่สุด และเกณฑ์การวัดประเมินผลก็กำหนดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม(Behavioral Objective) การจัดทำหลักสูตรลักษณะนี้จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เนื้อหาและการท่องจำ

การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนต้องศึกษาความเชื่อมโยงของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จุดเน้นคุณภาพผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษาและหลักสูตรสถานศึกษา จากหลักสูตรสถานศึกษาครูผู้สอนต้องวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชาโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ปรากฎในคำอธิบายรายวิชาของแต่ละกลุ่มสาระสามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ ในการบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มสาระเดียวกันหรือบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ ควรมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้ 7. ชิ้นงาน / ภาระงาน

2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 8. การวัดและประเมินผล

3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด 9. กิจกรรมการเรียนรู้

4. สาระการเรียนรู้ 10. เวลาเรียน /จำนวนชั่วโมง

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553